เทคนิคการเขียน

อยากแต่งนวนิยายเริ่มต้นยังไงดี

0 Comments

เทคนิคการเขียน

ความรู้สึกอยากแต่งนวนิยายเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยกระตุ้น เช่น ดูหนัง ดูการ์ตูน อ่านนิยายเล่มอื่น แต่เมื่อถึงขั้นตอนการแต่งด้วยตนเองแม้ทุกคนจะรู้ดีว่าการเริ่มต้นนั้นเป็นยังไง แต่ก็ไม่วายตามมาด้วยคำถามว่าหากอยากแต่งนิยายเริ่มต้นยังไงดี ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางเราจะพาไปดูวิธี 

วิธีเริ่มต้นสำหรับคนอยากแต่งงานนิยาย

ขั้นตอนการเริ่มต้นแต่งนวนิยายสามารถปรับให้มีความยืดหยุ่นและเหมาะกับตัวเองได้ โดยขึ้นอยู่กับเทคนิคหรือแนวทางของแต่ละคน แต่หากคุณไม่มีประสบการณ์มาก่อนเรามีวิธีการง่าย ๆ ดังนี้

1. อ่านหนังสือให้เยอะ ๆ

เชื่อว่าเวลาที่หลายคนมีคำถามว่าอยากแต่งงานนิยายเริ่มต้นจากตรงไหน มีหลายคนบอกอ่านหนังสือให้เยอะ ๆ ช่วยได้ ถามว่าช่วยได้ไหม แน่นอนว่าช่วยได้แต่อ่านอย่างเดียวไม่ได้ต้องศึกษาวิธีการวางโครงเรื่อง การเขียนบทสนทนา การเปิดเรื่อง และองค์ประกอบต่าง ๆ ของนวนิยายนั้นด้วย โดยเน้นอ่านให้หลากหลายไม่จำกัดอยู่แค่ประเภทใดประเภทหนึ่ง

2. ตัดสินใจเลือก

หลังจากศึกษาหรืออ่านนวนิยายมาสักระยะและเริ่มเข้าใจขั้นตอนการเขียนแบบคร่าว ๆ แล้ว ให้เลือกว่าตัวเองถูกจริตกับนิยายประเภทไหน 

3. ศึกษานวนิยายประเภทนั้น ๆ อย่างจริงจัง 

หากคุณมีคำตอบชัดเจนแล้วว่าสนใจนวนิยายประเภทไหน ให้อ่านและทำการศึกษานวนิยายประเภทนั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด แต่ยังคงอ่านร่วมกับนิยายประเภทอื่น ๆ ด้วย แค่ลดสัดส่วนให้น้อยลงเหลือเพียงแค่ 10 – 20%

4. เริ่มสร้างสรรค์ผลงานตัวเอง

ตั้งแต่วางโครงเรื่องแบบคร่าว ๆ หาคาแรคเตอร์ตัวละคร ไปจนถึงการสร้างสรรค์องค์ประกอบอื่น ๆ ให้มีความสอดคล้องและเข้าธีม แต่ในขั้นตอนนี้ไม่ใช่การสร้างสรรค์ผลงานจริงเพื่อเผยแพร่แต่เป็นขั้นตอนการฝึกฝน (ไม่มีการฝึกแบบไหนดีไปกว่าการลงมือทำ)

วิธีเขียนนิยายเรื่องแรก

หลังจากฝึกฝนและมีความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทนวนิยายในเรื่องที่สนใจที่เรียบร้อยแล้ว ถึงเวลาเข้าสู่กระบวนการเขียนนิยายเรื่องแรก โดยเน้นประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้มาร่วมกับไอเดียใหม่ ๆ 

1. มองหาไอเดียจากสิ่งรอบตัว 

และนำมาสร้างสรรค์ให้มีความโดดเด่นและน่าดึงดูด มั่นใจว่าคนอ่านอ่านแล้วประทับใจและตัวละครเป็นที่จดจำ 

2. วางโครงเรื่องอย่างละเอียด

ต้องการดำเนินเรื่องไปในทิศทางไหน จุดมุ่งหมายหลักของตัวละคร คือ อะไร เพื่อป้องกันไม่ให้เขียนออกทะเล

3. หาข้อมูลให้ได้มากที่สุด

โดยข้อมูลที่หาต้องมีความสอดคล้องกับธีมนิยายหรือเรื่องราว เพื่อสื่อสารให้กับผู้อ่านได้รู้ ไม่ใช่การหาข้อมูลแบบสุ่มไปเรื่อย ๆ 

4. จัดเวลาสำหรับการเขียนโดยเฉพาะ

เช่น กำหนดว่าจะเขียนวันละ 1 ตอน วันละ 1 หน้า วันละ 1 – 2 ชั่วโมง และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

5. พร้อมรับมือกับคำวิจารณ์

เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขนวนิยายให้มีคุณภาพมากขึ้น

เทคนิคการเขียนให้เรียบง่ายกระชับและน่าอ่าน

ขั้นตอนการลงมือเขียนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายที่สุดสำหรับผู้ประพันธ์หรือนักเขียน เนื่องจากต้องให้ความสำคัญกับผู้อ่านเป็นหลัก มั่นใจว่าอ่านแล้วเข้าใจง่ายกระชับและไม่น่าเบื่อ เช่น

  • ไม่เปลี่ยนมุมมองการเล่าเรื่องบ่อยจนเกินไป
  • ใช้คำสั้น ๆ แต่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน
  • คำพูดและบทสนทนาต้องส่งผลต่อเนื้อเรื่อง
  • ตัวละครไหนไม่จำเป็นสำหรับเนื้อเรื่องไม่แนะนำให้ใส่

เชื่อว่าคนที่อยากเขียนนวนิยายคงเตรียมใจมาพร้อมแล้วสำหรับการพบเจอกับความยากลำบากหรือเผชิญกับปัญหาระหว่างการเริ่มต้น ระหว่างเขียน ไปถึงก่อนเผยแพร่ผลงาน แต่ขอให้จำเอาไว้เสมอว่าหากการมีนิยายเป็นของตัวเองสักเรื่อง คือ ความฝัน ดังนั้นไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นหรือต่อให้เจออุปสรรคยากแค่ไหนคุณก็ต้องผ่านมันไปให้ได้

Related Posts

อ่านวรรณกรรม

มือใหม่เลือกอ่านวรรณกรรมยังไงดี

0 Comments

หากคุณสนใจงานวรรณกรรมแต่รู้สึกว่าเมื่อพูดถึงงานวรรณกรรมแล้วเข้าถึงยากเกินไป จึงทำให้ไม่มั่นใจว่าควรเริ่มต้นจากตรงไหนหรือเลือกอ่านยังไงดี ขอยืนยันตรงนี้เลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด  เลือกวรรณกรรมให้เหมาะกับช่วงอายุ วิธีการเลือกวรรณกรรมที่ดีที่สุดสำหรับผู้เริ่มต้น คือ ให้เน้นประเภทวรรณกรรมที่มีความสัมพันธ์กับอายุเป็นหลัก เพราะเรื่องราวในหนังสือมีความสอดคล้องกับชีวิตของเราจริง ๆ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสัมพันธ์…